messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน call ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
โป่งน้ำร้อน
อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
check_circle สถานที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก
ที่ตั้งและแผนที่ อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก 224 ม.6 ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110 โทรศัพท์/โทรสาร : 0 5345 3517, 084-483-4689 อีเมล : doiphahompok.np@hotmail.com หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายสมศักดิ์ ฐิติชยาภรณ์ อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 300 บาท เด็ก 150 บาท สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจและตกแต่งให้เป็นสถานที่พักผ่อนเมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมา ปี พ.ศ. 2524 กรมป่าไม้ได้อนุมัติจัดตั้งให้เป็น “วนอุทยาน” โดยใช้ชื่อว่า “วนอุทยานบ่อน้ำร้อนฝาง” มีพื้นที่ครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำฝาง 31 ตารางกิโลเมตร หรือ 19,375 ไร่ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2531 กองอุทยานแห่งชาติในขณะนั้นได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ของกองอุทยานแห่งชาติมารับงานวนอุทยานบ่อน้ำร้อนฝาง เพื่อดำเนินการสำรวจและจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป ในปี พ.ศ. 2543 อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ได้รับการประกาศจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 97 ของประเทศไทย ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 81ก ลงวันที่ 4 กันยายน 2543 โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง” โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำฝาง 3 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่อาย อ.ฝาง และ อ.ไชยปราการของจังหวัดเชียงใหม่ และมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสหภาพเมียนมาร์ทางด้านทิศตะวันตกยาวประมาณ 70 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 524 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 327,500 ไร่ มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่น่าสนใจในพื้นที่ คือ “บ่อน้ำพุร้อนฝาง” และ “ดอยผ้าห่มปก” ซึ่งเป็นยอดดอยที่มีความสูงเป็นอันดับสองของประเทศไทยด้วยความสูง 2,285 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 อุทยานแห่งชาติแม่ฝางได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก” เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อของ “ดอยผ้าห่มปก” ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญและโดดเด่นของอุทยานฯ และเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก” จนถึงปัจจุบัน ขนาดพื้นที่ 327500.00 ไร่ หน่วยงานในพื้นที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก หน่วยพิทักษ์ฯที่ดป.1(ดอยลาง) หน่วยพิทักษ์นที่ดป.2(หนองเต่า) หน่วยพิทักษ์ฯที่ดป.3(น้ำตกโป่งน้ำดัง) หน่วยพิทักษ์ฯที่ดป.4(โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่) ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปกเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดยาวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว มีระดับความสูงตั้งแต่ 400-2,285 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีภูเขาที่สำคัญคือ ดอยปู่หมื่น ดอยแหลม และดอยฟ้าห่มปก ซึ่งมีความสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยที่สำคัญหลายสาย เช่น ห้วยแม่ใจ ห้วยแม่สาว น้ำแม่กึมหลวง น้ำแม่ฮ่าง น้ำแม่แหลง ทิศเหนือและทิศตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเมียนม่าร์ ทิศใต้มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออกติดต่อกับพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอฝาง คือ ตำบลเวียง ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลม่อนปิ่น ตำบลแม่สูน ตำบลแม่งอน พื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอแม่อาย คือ ตำบลมะลิกา ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว ตำบลท่าตอน และพื้นที่ 2 ตำบลของอำเภอไชยปราการ คือ ตำบลหนองบัว และตำบลปงตำ ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 25.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายนประมาณ 39.1 องศาเซลเซียส และฝนตกชุกระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 1,183.5 มิลลิเมตร มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย 14-19 องศาเซลเซียส ยอดดอยมีอุณหภูมิต่ำสุดในช่วงฤดูหนาวเฉลี่ยประมาณ 2 องศาเซลเซียส พืชพรรณและสัตว์ป่า สภาพป่าและพืชพรรณ พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงเฉลี่ยตั้งแต่ 400 – 2,285 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประกอบกับมีอาณาเขตด้านทิศตะวันตกติดกับประเทศเมียนม่าร์ จึงเป็นผลให้มีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติสูง โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ที่มีความหลากหลายของประเภทป่า ซึ่งสามารถจำแนกประเภทป่า โดยอาศัยปัจจัยทางสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ลักษณะดิน และพืชพรรณเด่น ได้ 5 ประเภท ดังนี้ 1. ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest) สามารถพบป่าประเภทนี้ได้ตั้งแต่ระดับความสูง 400–600 เมตร พรรณไม้เด่นที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง ติ้ว ส่วนพืชชั้นล่างที่พบ ได้แก่ ปรงป่า และเป้ง 2. ป่าเบญจพรรณ (Mixed deciduous forest) เป็นประเภทป่าที่มีการกระจายตัวอยู่ทั่วไปในพื้นที่อุทยานฯ ตั้งแต่ระดับความสูง 400 – 800 เมตร พรรณไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สัก ชิงชัน ประดู่ มะค่าโมง แดง ตะแบก เป็นต้น ในบางพื้นที่จะพบไผ่ขึ้นปะปนอยู่เป็นบริเวณกว้าง พืชชั้นล่างที่พบ ได้แก่ พืชวงศ์ขิงข่า คล้า และเฟินชนิดต่างๆ 3. ป่าดิบแล้ง (Dry evergreen forest) ป่าประเภทนี้พบกระจายเพียงเล็กน้อยในพื้นที่อุทยานฯ มักพบขึ้นปะปนกับป่าเต็งรัง พรรณไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้วงศ์ยาง และปอชนิดต่างๆ 4. ป่าสนเขา (Pine Forest) เป็นสภาพป่าที่สามารถพบได้ตั้งแต่ระดับความสูง 800–1,700 เมตร บริเวณแนวเขตชายแดนไทย – เมียนม่าร์ ตามแนวสันเขาถนนเส้นทางความมั่นคง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความลาดชันสูง พื้นที่ค่อนข้างเปิดโล่ง พรรณไม้ที่พบส่วนใหญ่ คือ สนสามใบ สนสองใบ และมักพบไม้พุ่มชนิดอื่นๆ ขึ้นปะปน อยู่ด้วย 5. ป่าดิบเขา (Hill evergreen forest) สภาพป่าส่วนใหญ่ถูกปกคลุมไปด้วยเมฆหมอกตลอดทั้งปี จัดเป็นป่าต้นน้ำที่สำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดลำห้วยหลายสาย ป่าประเภทนี้พบในระดับความสูงตั้งแต่ 1,500 เมตร จนถึงบริเวณยอดดอยผ้าห่มปก พรรณไม้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ก่อชนิดต่างๆ กำลังเสือโคร่ง นางพญาเสือโคร่ง อบเชย ทะโล้ เป็นต้น ตามผิวลำต้นของไม้จะถูกปกคลุมไปด้วย มอส เฟิน ไลเคน กล้วยไม้ และพืชเกาะอาศัยชนิดอื่นๆ นอกจากนั้นยังพบพืชชั้นล่าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ดอกสีสันสวยงามตามฤดูกาล ได้แก่ บัวทอง หนาดขาว หนาดคำ ผักไผ่ดอย เทียนคำ เทียนดอย และผักเบี้ยดิน เป็นต้น สัตว์ป่า จากการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก สามารถจำแนกสัตว์ป่าที่พบ เป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammals) ได้แก่ หมาไม้ หมีควาย เก้ง หมูป่า เม่นใหญ่ กระต่ายป่า ลิงกัง ค่างแว่นถิ่นเหนือ กระรอกท้องแดง กระรอกดินแก้มแดง กระรอกบินจิ๋วท้องขาว เพียงพอนเส้นหลังขาว และสัตว์ที่มีรายงานการพบใหม่ในประเทศไทยครั้งแรกบริเวณพื้นที่ดอยผ้าห่มปก คือ เพียงพอนท้องเหลือง (Yellow-bellied Weasel) ในส่วนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้น ยังไม่มีการสำรวจข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งถ้ามีการสำรวจเก็บข้อมูล หรืองานวิจัยในด้านนี้อย่างจริงจัง ก็จะพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดต่างๆเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสัตว์ในกลุ่มค้างคาว และสัตว์ฟันแทะชนิดต่างๆ 2. นก (Birds) จากการสำรวจพบนกชนิดต่างๆ กว่า 340 ชนิด ซึ่งสามารถพบทั้งนกประจำถิ่นหายาก เช่น นกติ๊ดหัวแดง นกขัติยา นกกระรางอกลาย และนกหัวขวานอกแดง ซึ่งหลายชนิดเป็นนกที่สามารถพบได้เฉพาะในพื้นที่ดอยผ้าห่มปกเท่านั้น ส่วนนกอพยพที่เข้ามาอาศัยอยู่ในช่วงฤดูหนาว เช่น นกเดินดงสีน้ำตาลแดง นกเดินดงอกเทา นกเดินดงสีคล้ำ และนกเดินดงลายเสือ เป็นต้น นอกจากชนิดนกหายากดังกล่าวซึ่งส่วนใหญ่พบบริเวณดอยผ้าห่มปกแล้ว บริเวณพื้นที่อื่นของอุทยานฯก็สามารถพบเป็นนกหายากได้หลายชนิด เช่น บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีการสำรวจพบนกหายาก เช่น นกกระติ๊ดใหญ่ปีกลาย นกเขนหัวขาวท้ายแดง นกกางเขนน้ำหัวขาว และนกมุดน้ำ ซึ่งเป็นนกหายากที่พบอาศัยตามลำธารที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสถานะที่แน่นอนของนกชนิดนี้ 3. ผีเสื้อ และแมลง (Butterflies and Insects) ในพื้นที่สามารถพบผีเสื้อกลางวันชนิดต่างๆ ได้มากกว่า 130 ชนิด โดยเฉพาะผีเสื้อหายาก เช่น ผีเสื้อไกเซอร์อิมพีเรียล ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ ผีเสื้อถุงทองป่าสูง ผีเสื้อถุงทองธรรมดา ซึ่งจัดเป็นแมลงคุ้มครอง และแมลงหายากชนิดต่างๆ เช่น ด้วงคีมยีราฟ กว่างซาง ด้วงคางคกผา เป็นต้น 4. สัตว์เลื้อยคลาน (Reptiles) ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่น กิ้งก่าแก้ว เต่าปูลู เต่าหก งูลายสาบคอแดง งูทางมะพร้าวแดง งูสามเหลี่ยม ตะกวด เป็นต้น 5. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibians) ที่สามารถพบเห็นได้ เช่น กบดอยผ้าห่มปก อึ่งอ่างบ้าน กบหนอง อึ่งแม่หนาว อึ่งกรายห้วยเล็ก ปาดตีนเหลืองเหนือ และกระท่าง เป็นต้น สัตว์ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากอาจพบข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ และการกระจายพันธุ์ เนื่องจากยังขาดการสำรวจข้อมูลที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ การเดินทาง รถยนต์ จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่ - ฝาง) ถึงอำเภอฝางแล้วไปตามถนนฝาง - ม่อนปิ่น ประมาณ 3 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. 4054 อีก ประมาณ 8 กิโลเมตร จะถึงบริเวณบ่อน้ำร้อนฝาง ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก รวมระยะทางจากเชียงใหม่ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปกประมาณ 160 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที รถโดยสารประจำทาง มีรถประจำทางปรับอากาศของบริษัทขนส่งจำกัด และบริษัทรถร่วมเอกชน ระหว่างกรุงเทพ-ฝาง , เชียงใหม่-ฝาง เมื่อถึงอำเภอฝาง จะมีรถรับจ้างคอยบริการรับส่งสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร สำหรับเส้นทางไปดอยฟ้าห่มปกนั้น ควรเดินทางด้วยรถขับเคลื่อนสี่ล้อ ตามถนนสายฝาง – บ้านห้วยบอน เมื่อถึงบ้านห้วยบอนแล้ว ตรงไปตามถนนลูกรังอีกประมาณ 18 กิโลเมตร จะถึงที่ตั้งลานกางเตีนท์กิ่วลม ซึ่งห่างจากยอดดอยผ้าห่มปกโดยทางเดินเท้า ประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งใช้เวลาเดินทางไป-กลับ ประมาณ 3 ชั่วโมง
ภาพแผนที่



โป่งน้ำร้อนฝาง


โป่งน้ำร้อนฝาง : เชียงใหม่
โป่งน้ำร้อนฝาง สถานที่สวยสะอาด บรรยากาศน่าพักผ่อน มีบ่อน้ำพุร้อนหลายบ่อที่น้ำเดือดจัด พร้อมที่จะต้มไข่ให้สุกได้ในเวลา 15 นาที ในอาณาบริเวณประมาณ 15 ไร่เศษของโป่งน้ำร้อน นอกจากบ่อน้ำร้อนธรรมชาติแล้ว โป่งน้ำร้อนยังมีบริการหลายด้าน เช่นการอาบน้ำแร่ อบน้ำแร่ มีห้องอบและอาบเป็นสัดส่วน แยกชายหญิง ส่วนท่านที่ต้องการความเป็นส่วนตัวก็มีห้องอาบวีไอพีไว้บริการ รวมทั้งห้องอาบน้ำแบบครอบครัว การใช้บริการอุทยานจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและให้คำปรึกษาตลอดเวลา สำหรับน้ำที่อาบ นอกจากแร่กำมะถันที่ผสมอยู่ตามธรรมชาติแล้ว ทางอุทยานจะนำน้ำเย็นเข้ามาผสมในอัตราที่พอเหมาะเพื่อลดความร้อนและลดความเข้มข้นของแร่กำมะถัน แต่คุณสมบัติน้ำพุร้อนยังมีอยู่เต็มเปี่ยม หลายๆ คนยืนยันว่าลงแช่สัก 2-3 ครั้งโรคผิวหนังที่เป็นอยู่ก็หายไป หรือปวดเนื้อเมื่อยตัวจากการทำงานลงแช่ก็คลายความปวดลงได้มาก เพราะการแช่น้ำแร่ร้อนจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใกล้กับที่อาบน้ำแร่ ยังมีหมอนวดแผนโบราณ ที่คอยให้บริการนวดตัว นวดฝ่าเท้า นวดประคบสมุนไพรไทย ที่นักท่องเที่ยวและผู้ที่เคยมาใช้บริการต่างติดอกติดใจในฝีมือ ส่วนการบริการอื่นๆ ทางอุทยานมีตู้เก็บอุปกรณ์ของมีค่าให้เช่าในช่วงที่อาบน้ำแร่ เป็นอันมั่นใจได้เรื่องความปลอดภัยของทรัพย์สิน สำหรับอาหารการกินต่างๆ ก็มีร้านอาหารตามสั่ง และอาหารพื้นเมืองประเภทไก่ย่าง ส้มตำ ยำต่างๆ เครื่องดื่มทุกประเภทไว้รองรับอย่างพอเพียง ที่สำคัญราคาไม่แพง ใครมาแล้วติดใจอยากพักค้างคืน มีที่พักหลากหลายแบบไว้บริการ อยากกางเต็นท์ก็มีลานกางเต็นท์และเต็นท์ที่พักไว้บริการ หรืออาจพักห้องพักของอุทยานก็ได้ แต่ต้องจองล่วงหน้าก่อนกับทางอุทยาน หรือธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ ช่วงนี้อาจจะพอมีว่างแต่ถ้าหน้าหนาวจะเต็มตลอด ส่วนลานกางเต็นท์มีห้องน้ำ ห้องอาบน้ำไว้บริการใกล้ๆ สะดวกสบาย รวมทั้งมียามรักษาการณ์ยามกลางคืนด้วย ผู้ที่เคยมาพักมักจะบอกต่อถึงบรรยากาศและบริการ ตลอดจนความสะอาดและความปลอดภัยของสถานที่ นอกจากน้ำพุร้อนแล้ว บริเวณใกล้กันๆ ยังมีแหล่งน้ำเย็นธรรมชาติอยู่ด้วย คือลำห้วยแม่ใจ เป็นธารน้ำที่ใสสะอาดตามธรรมชาติท่ามกลางบ่อน้ำร้อน นับว่าเป็นสิ่งที่หาดูได้ยาก ลักษณะเป็นน้ำตกเล็กๆ ลดหลั่นกันเป็นทอดๆ นักท่องเที่ยวที่เบื่อน้ำร้อน จะหนีร้อนมาพึ่งเย็นที่นี่กันเป็นส่วนใหญ่ ลงเล่นน้ำเย็นเพิ่มความสดชื่น ท่ามกลางธรรมชาติอันสวยงาม ชมกล้วยไม้ต่างๆ 36 สกุล 70 ชนิด คือสำหรับคนที่ชอบดูนก ก็มีให้ดูมากกว่า 200 ชนิด เช่นนกกระติ๊ดใหญ่ปีกลาย นกมุดน้ำนกขัติยา นกติ๊ดหัวแดง ฯลฯ (ข้อมูลจากข่าวสด) การเดินทางโดยรถยนต์ : เชียงใหม่ - โป่งน้ำร้อนฝาง - ดอยฟ้าห่มปก ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง ตามทางหลวงหมายเลข 107 เส้นทางไปแม่ริม ขับตรงสู่อำเภอฝาง ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร ผ่าน อ. เชียงดาว ถึงอำเภอฝาง เลี้ยวซ้ายบายพาส 3 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเส้นทาง รพช.4055 ไปอีก 8 กิโลเมตร *** สำหรับเส้นทางไปยอดดอยฟ้าห่มปกนั้น ควรเดินทางด้วยรถขับเคลื่อนสี่ล้อ ตามถนนสายฝาง – บ้านห้วยบอน เมื่อถึงบ้านห้วยบอนแล้ว ตรงไปตามถนนลูกรังอีกประมาณ 18 กิโลเมตร จะถึงที่ตั้งลานกางเตีนท์กิ่วลม ซึ่งห่างจากยอดโป่งน้ำร้อนฝางโดยทางเดินเท้า ประมาณ 3.5 กิโลเมตร ซึ่งใช้เวลาเดินทางไป-กลับ ประมาณ 3 ชั่วโมง ผู้สนใจเดินทางขึ้นโป่งน้ำร้อนฝางต้องติดต่อที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติก่อน การจะเดินทางขึ้นสู่จุดยอดโป่งน้ำร้อนฝางนั้นต้องเตรียมตัวอย่างดีเพราะต้องเดินป่าปีนเขาอย่างสมบุกสมบัน และที่นี่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ นักท่องเที่ยวต้องเตรียมไปเอง การเดินทางโดยรถประจำทาง : รถประจำทางปรับอากาศ บริษัทขนส่งจำกัด และบริษัทรถร่วมเอกชน ระหว่างกรุงเทพ-ฝาง , เชียงใหม่-ฝาง เมื่อถึง อ.ฝาง จะมีรถรับจ้างคอยบริการรับส่งสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก (โป่งน้ำร้อนฝาง) ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
ทรัพย์-ปัน




ทรัพย์-ปัน
“ทรัพย์-ปัน” แบรนด์พระราชทาน ส่งเสริมแนวทางเกษตรอินทรีย์ สร้างอาชีพให้เกษตรกรไทย https://www.facebook.com/SappanFang/ ทรัพย์-ปัน แบรนด์เพื่อการ “แบ่งปัน” สำหรับตราสินค้า ทรัพย์-ปัน เป็นชื่อและตราสัญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฯ โดยมาจากคำว่า Sappan Wood ซึ่งมีความหมายว่า ต้นฝาง ในภาษาอังกฤษ เนื่องจากพื้นที่โครงการตั้งอยู่ในอำเภอฝาง อีกนัยหนึ่ง หมายถึงการแบ่งปันทรัพย์ในดินสินในน้ำอันเป็นความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินให้แก่ประชาชนในพื้นที่จากโครงการที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ต้นน้ำสู่ประชาชนในพื้นที่ปลายน้ำผ่านการดำเนินงานโครงการ ก่อตั้งขึ้นเพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา และกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายของโครงการ โดยปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายทรัพย์-ปัน มีสมาชิกทั้งหมด 25 ครัวเรือน แนวทางเกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน อนุตรา วรรณวิโรจน์ ผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่าโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา ตั้งอยู่บนพื้นที่ต้นน้ำ “ลำน้ำใจ” ซึ่งเป็นต้นน้ำสายสำคัญของแม่น้ำฝาง เราจึงมีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน โดยโครงการได้ดำเนินการทำการเกษตรในระบบอินทรีย์แบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิตและปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อใช้ในการเกษตร และสนับสนุนเครื่องมือในการผลิตให้แก่กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายของโครงการ อาทิ โรงแปรรูปผลิตภัณฑ์ และโรงสีข้าวที่ได้รับมาตรฐานระดับสากล ล่าสุดโครงการได้ส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายโครงการจำนวน 14 ครัวเรือน ปลูกข้าวเจ้าพันธุ์ “พิษณุโลก 80” ภายใต้ตรา ทรัพย์-ปัน บนพื้นที่ 42 ไร่ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่สนับสนุนให้ปลูกข้าวสายพันธุ์นี้ในภาคเหนือ จากเดิมที่ปลูกแค่ข้าวสายพันธุ์หอมมะลิ 105 และข้าวไรซ์เบอร์รี่ โดยทางโครงการฯ สนับสนุนด้านการเพาะพันธุ์และโรงสีข้าวสำหรับสมาชิก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิต ทางโครงการจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่กลุ่มเซ็นทรัลเล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการ และร่วมสนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายโครงการ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน”
ที่ตั้งสถานที่ท่องเที่ยวใน ต.โป่งน้ำร้อน